ฟันเกิน (supernumerary teeth)

 

โดยปกติมนุษย์ทั่วไปจะมีฟันน้ำนม จำนวน 20 ซี่ และ ฟันแท้ 32 ซี่ แต่หากมีจำนวนฟันมากเกินกว่านั้นจะเรียกว่า “ฟันเกิน” โดยที่ฟันเกินนั้นสามารถเกิดขึ้นเพียงซี่เดียวหรือหลายซี่, ตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งในขากรรไกรก็ได้ โดยจากสถิติแล้วสามารถพบฟันเกินในขากรรไกรบนได้มากกว่าขากรรไกรล่าง

โรคฟันเกิน หรืออาการ Hyperdontia หรือ supernumerary tooth 

โรคฟันเกิน เกิดจากการที่ฟันงอกเกินขึ้นมาในพื้นที่ว่างอื่นๆ ในช่องปาก นอกจากพื้นที่ที่ควรงอกปกติ เช่น ฟันที่เกินมาอาจไปงอกอยู่บนเพดาน หรือบางคนอาจมีฟันบางซี่หายไป (missing tooth) ถ้าในกรณีนี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องเอ็กซเรย์ถึงจะเจอ แต่ถ้าเพื่อนๆ แน่ใจว่าเรามีฟันครบทุกซี่ เราก็จะเรียกฟันที่งอกอยู่ตรงเพดานนั้นว่า ฟันเกิน (supernumerary tooth) เรียกลักษณะอาการแบบนี้ว่า hyperdontia นั่นเอง

ฟันเกินอาจจะงอกขึ้นมาในช่องปากได้เต็มซี่ หรืองอกได้บางส่วน หรือไม่ได้เลยก็ได้ ถ้างอกได้บางส่วนก็จัดว่าเป็นฟันคุด (impacted) ถ้างอกขึ้นมาไม่ได้เลย ก็เรียกว่าฟันฝัง (embedded) ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ปัญหาฟันคุดหรือฟันฝัง ไม่ใช่เกิดเฉพาะกับฟันกรามซี่ข้างในสุด บน-ล่าง-ซ้าย-ขวา แต่สามารถเกิดกับฟันซี่อื่น ไหนๆ ก็ได้เช่นกัน

 

สาเหตุ โรคฟันเกิน

ฟันเกินนั้นไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่ามันจะงอกขึ้นมาบริเวณโดยเฉพาะ เพราะมันสามารถไปเกิดตำแหน่งอื่นๆในช่องปากได้หมด มีการวิจัยบอกไว้ว่า สาเหตุการเกิดนั้นอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น สภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ท้องถิ่นนั้นๆ, การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ก็เป็นได้ และในงานวิจัยนั้นพบว่า โรคฟันเกินนี้จะพบในเด็กๆ บ่อยที่สุด

 

อันตรายของ โรคฟันเกิน

ปัญหาฟันคุดหรือฟันฝัง จำเป็นต้องเอาออกสำหรับคนที่ต้องทำการจัดฟัน เพราะไม่งั้นจะไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายฟันซี่อื่นๆให้เข้าที่ได้ หรือในบางกรณีที่ฟันคุดหรือฟันฝังนั้นไม่สามารถขึ้นพ้นเหงือกได้ ก็จะก่อให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง หรืออาจพัฒนากลายเป็นซีสต์(ถุงน้ำ) หรือเนื้องอกได้ ตำแหน่งของฟันเกินก็ขึ้นแตกต่างกันไป ซึ่งไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ บางคนฟันไปอยูบนเพดาน บางคนชี้ไปทางโพรงจมูก

 

วิธีการตรวจภายในช่องปากและภาพถ่ายรังสีมีความจำเป็นในการวินิจฉัยและระบุตำแหน่งของฟันเกิน โดยในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีการพัฒนาไปอย่างมาก สามารถใช้ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ สร้างเป็นภาพ 3 มิติ ทำให้สามารถระบุตำแหน่งของฟันเกินได้อย่างแม่นยำ และวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

 

วิธีการรักษาฟันเกิน

สามารถรักษาโดยการถอนฟัน หรือใช้วิธีการถอยฟัน ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์