ทันตกรรมจัดฟัน คือ สาขาหนึ่งของทันตกรรมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกับการแก้ไขฟันและขากรรไกรที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ฟันยื่นและฟันที่ขบกันไม่พอดีจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควรเนื่องมาจากฟันผุและโรคเหงือก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการกดทับต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ อาการปวดที่ข้อต่อขากรรไกร คอ ไหล่ และหลังได้ ฟันที่ยื่นหรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก็ยังทำลายบุคลิกภาพอีกด้วย

 

การจัดฟันสามารถทำได้ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่มีปัญหาการสบฟันและฟันไม่เรียงตัวสวยตามต้องการ วัยที่ควรเริ่มจัดฟันควรทำในเด็กที่มีฟันแท้ขึ้นครบแล้ว อายุราว ๆ 11-13 ปี

อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจทำการรักษาโดยวิธีจัดฟันนะค่ะ

✅การรักษาที่ตรงเวลา มีวินัย และไม่ลืมนัดหรือผิดนัดคุณหมอก็เป็นสิ่งสำคัญนะค่ะ
✅ฟังคำอธิบายแผนการดูแลรักษาและเครื่องมือที่ใช้ให้เข้าใจ จะสร้างความมั่นใจมากขึ้น "จัดฟันครั้งเดียวในชีวิต เลือกคุณภาพที่ดีที่สุดกับตัวเรา"

ไม่ต้องกังวลและไม่สายเกินไปนะค่ะ หากพบปัญหา ฟันยื่น ฟันซ้อนเก ฟันกัดเบี้ยว ก็ยังเข้ารับการรักษาโดยการจัดฟันได้ หากมีวินัยในการรักษา สามารถดูแลและปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอได้เป็นอย่างดี

 

        ประโยชน์ของทันตกรรมจัดฟันนั้นรวมถึงสุขภาพปากที่แข็งแรงขึ้น ลักษณะบุคลิกภาพที่น่าพึงใจกว่าเดิม และฟันที่สามารถจะคงทนไปตลอดชีวิต

        ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้เรียกว่า ทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งจะใช้เวลา 2 ปี หรือมากกว่านั้นในการศึกษาในโปรแกรมที่ได้รับการรับรองจาก ADA นอกเหนือจากเวลา 4 ปีในโรงเรียนทันตแพทย์

เราจะทราบได้อย่างไรว่าเราต้องการทันตกรรมจัดฟัน

ฟันที่มีปัญหามาจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกร
การสบฟันที่ผิดปกติทำให้ยากต่อการบดเคี้ยว
การเรียงของฟันไม่เป็นระเบียบทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
การเรียงตัวของฟันที่ไม่ถูกต้องนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ เช่น การปวดกราม ฟันสึก โรคเหงือกอักเสบ ฟันผุ เป็นต้น
ลักษณะของฟัน 8 แบบที่ควรจัดได้แก่ ฟันซ้อน, ฟันสบคร่อม, ฟันล่างคร่อม, ฟันกัดเบี้ยว,ฟันสบลึก,ฟันสบเปิด, ฟันห่าง, ฟันบนยื่น

         มีเพียงทันตแพทย์หรือทันตแพทย์จัดฟันเท่านั้นที่จะสามารถตัดสินได้ว่าคุณควรจะจัดฟันหรือไม่ จากการวินิจฉัยด้วยประวัติการรักษาทางการแพทย์และทันตกรรม การตรวจในคลินิค แบบพิมพ์ฟันของคุณ และภาพเอ็กซเรย์

คุณอาจต้องรับการจัดฟันถ้าคุณมีปัญหาต่อไปนี้:

  • ฟันบนยื่น — ฟันบนยื่นออกมาข้างหน้ามาก
  • ฟันล่างยื่น —ฟันล่างยื่นออกมาข้างหน้ามาก
  • ฟันกัดคร่อม — ฟันบนไม่สามารถขบได้พอดีกับฟันล่าง มีลักษณะขบแบบไขว้
  • ฟันสบเปิด — เมื่อขบฟันและแล้วมีช่องว่างเปิดระหว่างฟันบนกับฟันล่าง
  • ฟันกัดเบี้ยว— จุดศูนย์กลางของฟันบนไม่ตรงกับฟันล่าง
  • ฟันห่าง — มีช่องว่างระหว่างฟันอันเกิดจากฟันหลุดหรือฟันที่ขึ้นไม่เต็ม
  • ฟันซ้อน — ฟันที่ขึ้นมามากเกินไปจนเกทับกัน     

 

ขั้นตอนการจัดฟัน

  •  ปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจวินิจฉัยโครงสร้างฟัน ทำประวัติก่อนการจัดฟัน ได้แก่ พิมพ์ฟัน ถ่ายรูป และถ่าย x-ray ทราบข้อดี-ข้อเสียเกี่ยวกับการจัดแบบโลหะ และการจัดฟันแบบอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ
  • เคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟัน เช่น ขูดหินปูน, ถอนฟัน, อุดฟัน, ผ่าฟันคุด เป็นต้น
  • นัดหมายติดเครื่องมือจัดฟัน
  •  หลังจากติดเครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์จะนัดปรับลวดประมาณ 1 เดือนครั้งเมื่อจัดฟันเสร็จทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือจัดฟัน แล้วจะพิมพ์ฟันทำรีเทนเนอร์ ซึ่งมีหลากหลายแบบ ได้แก่ รีเทนเนอร์แบบใส รีเทนเนอร์แบบลวด รีเทนเนอร์แบบติดแน่น และรีเทนเนอร์แบบโลหะ เพื่อใช้คงสภาพฟัน ซึ่งควรใส่ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ เพื่อไม่ให้ฟันเคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม 
  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกปีหลังจัดฟันเสร็จ เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยและแข็งแรง และลดปัญหาในช่องปาก

 

จัดฟันแล้วห้ามทานอะไรบ้าง ?
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารที่มีความแข็ง,ความเหนียว
เช่น น้ำแข็ง,ลูกอม,ผลไม้ที่มีความแข็ง,ข้าวโพดฝัก,ป็อปคอร์น,ถั่วลิสง,หมากฝรั่ง,ทอฟฟี่,เยลลี่ที่มีความเหนียว,ขนมกระยาสารท,ข้าวเหนียว,ไก่ทอด,ซี่โครงหมู
ฯลฯ ไม่แนะนำให้ใช้ฟันกัดหรือแทะอาหารโดยตรง
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุดหรือเสียหายได้

การรักษาด้วยทันตกรรมจัดฟันเป็นอย่างไร 
           การรักษาด้วยทันตกรรมจัดฟันมีหลายวิธีที่จะช่วยในการจัดฟัน จัดระเบียบกล้ามเนื้อและขากรรไกร โดยมีทั้งที่เป็นแบบติดถาวรและแบบถอดออกได้ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะทำการดัดฟันและขากรรไกรแบบนุ่มนวล ความรุนแรงของปัญหาของคุณจะเป็นตัวตัดสินว่าวิธีการจัดฟันแบบใดที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

รีเทนเนอร์ คืออะไร? 

 

คือ เครื่องมือคงสภาพฟันหลังการจัดฟัน ช่วยคงสภาพการเรียงตัวของฟันไม่ให้ฟันเคลื่อน, ป้องกันฟันล้ม ช่วยให้เนื้อเยื่อรอบๆฟันปรับตัวกับตำแหน่งใหม่ ในช่องปาก

 

ข้อควรระวัง

ห้ามแช่รีเทนเนอร์ในน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมนานเกินไป

หากรีเทนเนอร์แตกหัก,เสียหาย หรือทำหายให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการแก้ไขส่วนที่เสียหาย หรือทำรีเทนเนอร์ชิ้นใหม่

ห้ามรีเทนเนอร์โดนความร้อนหรือน้ำร้อนเพราะความร้อนทำให้รีเทนเนอร์ผิดรูปได้

วิธีดูแลรักษา

หากรีเทนเนอร์มีคราบฝังสะสม แนะนำให้ใช้เม็ดฟู่ที่ใช้ทำความสะอาดฟันปลอมหรือน้ำส้มสายชูเจือจาง เพื่อแช่รีเทนเนอร์ได้

ควรล้างคราบสกปรกออกจากรีเทนเนอร์ทันทีที่ถอดออก โดยล้างในน้ำอุณภูมิปกติ และใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม แปรงเบาๆเพื่อทำความสะอาดหากไม่ได้ใช้งาน หรือหลังทำความสะอาดเสร็จแล้ว

ควรเก็บรีเทนเนอร์ใส่กล่องทุกครั้ง ไม่ห่อกระดาษทิชชู่ เพราะอาจทำให้เผลอทิ้งได้