ถอนฟัน(The Extraction of teeth)
การถอนฟันเป็นการรักษาที่ทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาเป็นวิธีสุดท้าย เพราะหากฟันยังสามารถรักษาด้วยการรักษาทันตกรรมวิธีอื่น ๆ ได้ ก็จะเลือกวิธีการรักษานั้นก่อน เพราะการถอนฟันคือการสูญเสียฟันธรรมชาติไปอย่างถาวร และอาจจะสร้างปัญหาให้ฟันซี่ข้างเคียงให้เกิดการเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่เปลี่ยนไปจากเดิมได้หากไม่ได้ใส่ฟันปลอม
สาเหตุที่ต้องถอนฟัน
การถอนฟันเป็นการรักษาที่ทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาเป็นวิธีสุดท้าย เพราะหากฟันยังสามารถรักษาด้วยการรักษาทันตกรรมวิธีอื่น ๆ ได้ ก็จะเลือกวิธีการรักษานั้นก่อน เพราะการถอนฟันคือการสูญเสียฟันธรรมชาติไปอย่างถาวร และอาจจะสร้างปัญหาให้ฟันซี่ข้างเคียงให้เกิดการเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่เปลี่ยนไปจากเดิมได้หากไม่ได้ใส่ฟันปลอม สาเหตุที่ต้องถอนฟันเกิดขึ้นได้จากหลายอย่างได้แก่
- ฟันผุ ฟันผุมากและไม่ได้รับการรักษาในระยะเวลานานจะทำให้คราบจุลินทรีย์ทำลายไปถึงเข้าถึงโพรงประสาทฟัน จนไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟันหรือรักษารากฟัน มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจลุกลามไปยังฟันซี่ข้างเคียง
- โรคเหงือก มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease) เนื่องจากโรคเหงือกอักเสบจะมีอาการเหงือกบวมแดง ถ้าเป็นในระยะที่รุนแรงจะทำให้กระดูกรองรับฟันละลาย และฟันโยกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้ฟันหลุด หรือต้องถอนฟัน
- ฟันหัก หรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีความจำเป็นต้องถอนฟัน เนื่องจากเนื้อฟันเหลือน้อยเกินไปจนไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟัน รักษารากฟัน หรือครอบฟันได้
- อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถขึ้นได้ และหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ฟันคุด, ฟันฝัง
- จัดฟัน เป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟันจะเป็นผู้วางแผนการรักษาว่าจะต้องถอนฟันซี่ไหนบ้าง เพื่อให้เกิดช่องว่างและการเรียงตัวของฟันใหม่ ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของผู้ที่จะจัดฟันแต่ละคน
- การถอนฟันหรือการผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก คนไข้อาจทานอาหารก่อนมาหาคุณหมอเพื่อที่เวลาถอนฟันเสร็จแล้ว คนไข้จะรู้สึกชา เมื่อหายชาอาจมีอาการเจ็บและไม่อยากรับประทานอาหาร
- ให้ประวัติสุขภาพของตนเองแก่ทันตแพทย์ตามจริงและครบถ้วน เพราะการถอนฟันเป็นการรักษาทันตกรรมที่ต้องฉีดยาชาเฉพาะที่ อีกทั้งยังมีเลือดออกขณะและหลังถอนฟัน รวมถึงทันตแพทย์จะสั่งยาแก้ปวดและยาปฎิชีวนะร่วมด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบหลังจากถอนฟัน ดังนั้นควรแจ้งทันตแพทย์ให้ครบถ้วน
- หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคตับ โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้นหรือมียาที่รับประทานเป็นประจำ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ เพื่อให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ขั้นตอนการถอนฟัน
- ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน ในบางกรณีจำเป็นต้องถ่ายX-Ray เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ซึ่งX-rayสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
- ทายาชาเพื่อให้บริเวณที่จะฉีดยาชารู้สึกน้อยที่สุด และฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน
- เมื่อคนไข้รู้สึกชาเต็มที่แล้ว ทันตแพทย์จะค่อยๆโยกฟันทีละนิดอย่างนุ่มนวล จนฟันหลุดออกมา
- หลังจากถอนฟันแล้ว ให้กัดผ้าก๊อชที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ประมาณ 30-60 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
คำแนะนำหลังการถอนฟัน
- ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
- ห้ามใช้ลิ้นดุนหรือดูดแผลเล่น จะทำให้เลือดไม่หยุดไหล
- ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
- ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
- สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
- สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราจะทำให้แผลหายช้า
- รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ และใช้น้ำแข็งประคบประมาณ 15-30 นาที เพื่อลดอาการเจ็บปวดและอาการบวม
- อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟัน
เมื่อสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไป ฟันซี่ข้างเคียงก็จะค่อยๆล้มหรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพปากและฟัน การสูญเสียฟันหนึ่งซี่นั้นอาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยว การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น การหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการแทนที่ฟันซี่นั้นด้วยวิธีการทันตกรรมที่เหมาะสมได้ดังนี้