ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pediatric dentistry)

 

บริการทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pedodontics)

ทันตแพทย์สำหรับเด็ก [ Pedodontist ] เป็นทันตกรรมสาขาหนึ่งซึ่งให้คำปรึกษา ดูแลรักษา ป้องกันปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 ปี ได้แก่ การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์, การผนึกหลุมร่องฟันป้องกันฟันผุ, การอุดฟัน, การรักษาโพรงประสาทฟัน, การครอบฟัน กรณีที่มีฟันผุ ลุกลามมาก, การถอนฟัน, การ X-ray ตรวจสุขภาพฟัน , การใส่เครื่องมือกันฟันล้มหรือเครื่องมือขยาย ช่องว่างสำหรับฟันแท้ [ Space Maintainer or Space Regainer ]

การรักษาฟันเด็ก เป็นสิ่งที่คุณพ่อแม่ทุกคนจะต้องทำให้ถูกต้อง เพราะคุณพ่อแม่ทุกคนคาดหวังอยากจะให้ลูกมีสุขภาพดีและแข็งแรง เพราะฉะนั้น หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือต้องหมั่นพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ

การพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจฟันเป็นประจำ จะมีข้อดีคือ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในช่องปาก หรือฟัน ก็จะได้ทำการรักษาฟันเด็กได้อย่างทันท่วงที ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นกับเหงือกและฟันของเด็กก็คือ การดูแลรักษาความสะอาดเหงือกและฟันให้ถูกวิธี

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรอ ว่าเมื่อไรฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นแล้วค่อยทำความสะอาด เพราะความจริงแล้วสามารถเริ่มทำความสะอาดได้ตั้งแต่แรก ซึ่งถ้าไม่มั่นใจก็สามารถเรียนรู้ หรือสอบถามได้จากการปรึกษาทันตแพทย์

ปัจจัยที่สำคัญอีกประการที่ควรแนะนำเด็ก คือต้องสอนให้ลูกรู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงพวกขนมขดเคี้ยว น้ำหวาน เนื่องจากจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดฟันผุได้ง่าย

ข้อดีของการรักษาฟันเด็ก

เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้นในช่องปากแล้ว การดูแลรักษาฟันเด็กให้ดีตั้งแต่ยังเป็นฟันน้ำนม จะช่วยทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการรักษาฟันตัวเองและไม่กลัวหมอฟัน ซึ่งการมีฟันน้ำนมไว้เคี้ยวอาหารจะช่วยไม่ให้มีปัญหาในการพูดหรือการบดเคี้ยว และการขึ้นมาของฟันแท้ในอนาคตต่อไป

นอกจากนี้หากเด็กมาพบทันตแพทย์เป็นประจำ ก็จะช่วยลดโอกาสของการเกิดฟันผุในฟันแท้ ทำให้เป็นฟันแท้ที่แข็งแรง และยังช่วยประหยัดค่าทำฟันได้อีกมาก ถ้าเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะรักษาฟันเองเบื้องต้นได้

หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองยังไม่ทราบว่าควรจะเริ่มดูแลสุขภาพฟัน และรักษาฟันเด็กอย่างไร แนะนำให้พาเด็กไปพบกับทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก เพื่อรับคำแนะนำในการทำความสะอาดช่องปากทั่วๆไป เช่น หลังจากที่รับประทานอาหาร หรือนมเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดฟันอย่างไร

แนวทางปฏิบัติในการดูแลฟันและสุขภาพปากของเด็ก

  • หลังรับประทานอาหาร หากเป็นเด็กเล็กๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือยังไม่ถึงสองขวบ ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเพื่อนำไปเช็ดฟัน และกระพุ้งแก้มให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและก่อนนอน
  • เมื่อเด็กมีฟันเริ่มขึ้นหลายซี่แล้ว ควรแปรงฟันให้เด็กด้วยแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือสอนเด็กแปรงฟันด้วยตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องแปรงซ้ำจนกว่าเด็กอายุประมาณ 6-7 ขวบ เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ควรแปรงฟันให้เด็กหลังรับประทานอาหารเสริม หากเด็กกินนมผงก็ไม่ควรเลือกรสหวาน
  • ในการเลือกอาหารว่าง ควรจะเลือกอาหารที่มีประโยชน์อย่างพวกผลไม้ แทนขนมหวาน หรือขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย
  • หมั่นตรวจ และสังเกตฟันเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูเหงือก และฟันว่าความสิ่งผิดปกติหรือไม่ หากพบคราบสกปรกให้ค่อยๆ เช็ดหรือแปรงออก
  • หากพบว่าเด็กมีฟันสีขุ่นขาวหรือเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือมีรูที่คาดว่าน่าจะเป็นฟันผุ ควรรีบพาเด็กเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

การรักษาฟันเด็กเมื่อมีปัญหาสุขภาพฟัน

การรักษาฟันเด็กให้มีสุขภาพดีนั้น เบื้องต้นอาจจะเริ่มจากการแปรงฟันให้ลูก ตั้งแต่ที่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นในช่องปาก เริ่มด้วยการใช้ผ้านุ่มๆ ที่สะอาดแล้วชุบน้ำหมาดๆ นำมาเช็ดฟัน เพื่อฝึกให้ลูกน้อยให้เกิดความคุ้นเคย ฟัน 2 ซี่ ล่างขึ้นเต็มซี่แล้วจึงเริ่มใช้แปรงสีฟันขนนุ่มแปรงได้

การรักษาฟันเมื่อลูกอายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อาจจะยังไม่สามารถดูแลสุขภาพฟันได้ด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองดูจึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ลูกมีสุขภาพฟันดี การที่เด็กมีฟันผุ ส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุมาจากอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก เพราะฉะนั้นเพื่อลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดฟันผุ จึงควรสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเด็ก เกี่ยวกับการทานขนมขบเคี้ยว หรือพวกน้ำหวานต่างๆ ควรให้เด็กทำความสะอาดฟันทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร

การรักษาฟันเด็กยังรวมไปถึงเมื่อเด็กมีฟันเก และเบียดกัน ทำให้มีปัญหาการสบของฟัน ซึ่งจะส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารของเด็กได้ การรักษาฟันเด็กเบื้องต้นเพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจฟันลูกด้วยตนเองเป็นประจำ และกำชับให้เด็กแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าและเย็น ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

พยายามให้ลูกเลิกนมมื้อดึก และหลีกเลี่ยงการปล่อยให้ดูดนมจนหลับคาขวด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู และหลีกเลี่ยงขนมหวาน ที่มีความเหนียวติดฟัน และขนมกรุบกรอบ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ ควรปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันแก่ลูก และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

ความแตกต่างของทันตกรรมทั่วไปกับทันตกรรมเด็ก

ทันตกรรมและทันตกรรมทั่วไปเหมือนกันไหม?
          ทันตกรรม หมายถึง การทำฟัน ซึ่งก็คือการรักษาภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับฟันและเหงือก รวมไปถึงการซ่อมแซมความเสียหายของฟัน
            ทันตกรรมทั่วไป (General practitioner) คือ การตรวจสภาพช่องปากและฟัน การทำความสะอาดและการรักษาสภาพเหงือกและฟัน เพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดีและมีอายุการใช้งานได้นาน ประกอบไปด้วย การตรวจวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม รักษารากฟัน การขูดหินปูน และขัดฟัน รวมถึงการอุดฟันและถอนฟัน ซึ่งทันตกรรมทั่วไปนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของทันตกรรม

ทำไมต้องมีทันตกรรมสำหรับเด็ก?
         ในงานทันตกรรมนั้น ทันตกรรมเด็กถูกจัดเป็นงานทันตกรรมเฉพาะทาง  ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pedodotics) คือ การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ขวบแรกหรือไม่เกิน 6 เดือนหลังจากที่เห็นฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นจนถึง 12 ปี ทั้งการรักษาและป้องกันโรคในช่องปาก
            เหตุผลที่จำเป็นต้องมีทันตกรรมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะเด็กยังมีระบบฟันที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรง   จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เด็กมีโอกาสฟันผุมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กโดยทั่วไปมีความเสี่ยงมากกว่า ทั้งนี้ การป้องกันโรคในช่องปากตั้งแต่ระยะต้น ๆนั้ นเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยมากทันตแพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันฟันผุ ผ่านการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาการฟันผุรายบุคคล ซึ่งจะให้คำแนะนำวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคน รวมไปถึงความสะอาดในช่องปากที่สามารถเริ่มได้จากที่บ้าน การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเคี้ยวผิวฟัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการรักษาเชิงป้องกันทั้งสิ้น นอกจากนิ้ เป้าหมายของทันตกรรมสำหรับเด็ก คือ การสร้างรอยยิ้มที่สดใสแข็งแรงให้อยู่กับเด็ก ๆ ให้ได้นาน ยิ่งเราใส่ใจสุขภาพฟันของเด็ก ๆ เร็วเท่าไหร่ พวกเขาก็จะมีรอยยิ้มที่สวยงามและแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น เด็ก ๆ จะสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้อง พูดออกเสียงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ฟันน้ำนมยังเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพฟันแท้ที่ดีด้วย โดยทั่วไปแล้วหากฟันน้ำนมนั้นแข็งแรง ฟันแท้ที่จะขึ้นต่อมาก็มีแนวโน้มจะแข็งแรงเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้วการมีรอยยิ้มที่สวยงามตลอดชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หากได้รับการดูแลจากทันตแพทย์ตั้งแต่เด็กๆ
            ทันตกรรมสำหรับเด็ก จะประกอบไปด้วย 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่
            1. ทันตกรรมเชิงป้องกัน เช่น ตรวจฟันผุ รักษาด้วยฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
            2. ทันตกรรมฟื้นฟู (Restorative dental service) เช่น อุดฟัน ใส่ครอบฟัน
            3. การเติบโตและพัฒนาการของฟัน เช่น การกัดฟัน การสบฟัน ฟันซ้อน ฟันเก

ทำไมต้องไปหาหมอฟันเด็ก?
          ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะทำหัตถาการทางทันตกรรมที่เหมือนทันตแพทย์ทั่วไป ต่างกันตรงที่ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะต้องเรียนเฉพาะทาง อบรมเพื่อให้พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ด้านพฤติกรรมของเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เด็กแต่ละคนจะสนองการเข้ารับการตรวจที่แตกต่างกัน ซึ่งเด็กที่ไม่คุ้นเคยกับการไปพบทันตแพทย์จะวิตกกังวลและหวาดกลัวเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นทันตกแพทย์เด็กจะมีวิธีการในการจัดการกับสถานการณ์เช่นนั้นได้ดีกว่า และเหมาะสมกับวัยของเด็ก กล่าวโดยสรุป ทันตกรรมเด็กเป็นสาขาเฉพาะทางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทันตกรรมนั่นเองค่ะ เราจึงควรเลือกทันตกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด